ข้อมูลโครงการ | ย้อนกลับ


1. โครงการ/กิจกรรม
      ศึกษาและสร้างนวัตกรรมดิจิทัลระบบบริหารจัดการข้อมูลภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่นเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

2. วัน เดือน ปี ที่จัดโครงการ/กิจกรรม
      15-24 สิงหาคม 2566

3. กิจกรรมที่จะดำเนินการเรื่อง
      กระบวนการศึกษาและสำรวจข้อมูลภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่น ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างและเผยแพร่การใช้ประโยชน์นวัตกรรมดิจิทัลระบบบริหารจัดการข้อมูลภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่น (ปีที่ 1)

4. วัตถุประสงค์
     1) เพื่อศึกษาและสำรวจข้อมูลภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่นในพื้นที่พระราโชบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
     2) เพื่อสร้างนวัตกรรมดิจิทัลระบบบริหารจัดการข้อมูลภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่นในพื้นที่พระราโชบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
     3) เพื่อเผยแพร่การใช้ประโยชน์นวัตกรรมดิจิทัลระบบบริหารจัดการข้อมูลภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่นในพื้นที่พระราโชบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

5. ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
     ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา สืบค้น และคัดเลือกผู้ประกอบการภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่นในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
     ขั้นตอนที่ 2 การประสานงานเพื่อลงพื้นที่และสำรวจข้อมูลภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่นของผู้ประกอบการในพื้นที่
     จังหวัดสุราษฎร์ธานี
     ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบและสร้างนวัตกรรมดิจิทัลระบบบริหารจัดการข้อมูลภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่นในพื้นที่
     จังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน
     ขั้นตอนที่ 4 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่การใช้ประโยชน์นวัตกรรมดิจิทัลระบบบริหารจัดการข้อมูล ภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่นในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
     ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน

6. อธิบายรายละเอียดงานพอสังเขป
      กิจกรรมครั้งนี้ เป็นการศึกษา สืบค้น และคัดเลือกผู้ประกอบการภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่นในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
      ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาครัฐ และภาควิชาการ เช่น ผู้นำชุมชนผู้ประกอบการหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีโดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การได้จัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่น แล้วนำมาออกแบบและสร้างเป็นนวัตกรรมดิจิทัลระบบบริหารจัดการข้อมูลภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่นฯ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม และเผยแพร่ข้อมูล ตลอดจนการต่อยอดไป
      ในเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ต่อไป

7. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมาย
     กลุ่มเป้าหมายรวมจำนวน 20 คน ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
     1) ผู้นำชุมชน
     2) ผู้ประกอบการหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่น
     3) หัวหน้าส่วนราชการหรือตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
     4) นักวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     1) ได้ฐานข้อมูลข้อมูลภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่นในพื้นที่พระราโชบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
     2) ได้สร้างนวัตกรรมดิจิทัลระบบบริหารจัดการข้อมูลภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่นในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
     3) ได้เผยแพร่การใช้ประโยชน์นวัตกรรมดิจิทัลระบบบริหารจัดการข้อมูลภูมิปัญญาสุราพื้นถิ่นในพื้นที่
          จังหวัดสุราษฎร์ธานี